สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เดินทอดน่องท่องฝั่งธนฯ “บางกอกใหญ่-บางกอกน้อย” ยลหลากศาสนสถาน ผ่านเรื่องเล่า  (อ่าน 3720 ครั้ง)

admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 831
    • ดูรายละเอียด
เดินทอดน่องท่องฝั่งธนฯ “บางกอกใหญ่-บางกอกน้อย” ยลหลากศาสนสถาน ผ่านเรื่องเล่า

ตั้งแต่มีโครงการ

“กรุงเทพฯ เดินเที่ยว : Walking Bangkok” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้น ได้นำเสนอไปหลายเส้นทางจนกลายเป็นที่รู้จัก เพื่อให้ชาวกรุงได้ช่วยกันเผยภาพมนต์เสน่ห์ของเมืองหลวงที่มีหลากหลายเรื่องราว คราวนี้ก็ถึงตาที่ฉันจะได้ร่วมทริปเดินเที่ยวเส้นทางใหม่ ที่ไม่ว่าใครๆ ย่อมรู้จักดี นั่นคือ “ย่านบางกอกใหญ่และบางกอกน้อย” ถือว่าเป็นย่านเก่าแก่ที่มีมานาน ไม่ว่าจะเป็นวัดต่างๆ พร้อมสถานที่ชอปปิ้งยอดฮิตอย่างวังหลัง


การเดินทางของฉันในวันนี้จะเริ่มแรกกันที่ “วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร” หรือ "วัดท้ายตลาด" เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดท้ายตลาด เพราะอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม และทรงขนานนามใหม่ว่า “วัดโมลีโลกย์สุธารามอาวาศวรวิหาร พระอารามหลวง” เรียกสั้นๆ ว่า “วัดโมลีโลกย์สุธาราม” ซึ่งภายหลังเรียกว่า “วัดโมลีโลกยาราม” ซึ่งถ้ามาวัดนี้แล้วไม่ควรพลาดนั่นคือ “พระวิหารฉางเกลือ” เป็นศิลปกรรมไทย-จีน ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เป็นสถานที่เก็บเกลือ เพราะสมัยนั้นเกลือมีความสำคัญในการถนอมอาหารในการเดินทัพ นับเป็นยุทธปัจจัยสำคัญในการรบ จึงเรียกกันว่ามีหนึ่งเดียวในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

พระวิหารแห่งนี้มีลักษณะพิเศษที่หาดูได้ยาก เพราะภายในกั้นเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นห้องโถงใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยต่างๆ ส่วนตอนหลังเป็นห้องเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่ นามว่า “พระปรเมศ” ผนังและเพดานเขียนลวดลายงดงาม ประตูและหน้าต่างทุกช่องเขียนลายรดน้ำ สวยสดงดงามอย่างยิ่ง


ต่อมาเราเดินเท้ามาถึง “วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร” ที่อยู่ไม่ไกลนัก เป็นพระอารามสำคัญที่เคยเป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงชักชวนสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ร่วมบูรณปฏิสังขรณ์วัดหงส์ เนื่องจากอยู่ใกล้พระราชวังของพระองค์ แต่การยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีก็สิ้นพระชนม์ก่อน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับพระราชภาระในการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อ จนกระทั่งการบูรณะเสร็จแต่ยังไม่บริบูรณ์นัก ก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนแล้วเสร็จสวยงาม และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดหงส์รัตนาราม” นอกจากนั้นวัดหงส์รัตนารามนี้ ถือว่าเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย

โดยภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะ "หลวงพ่อแสน" เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าพระองค์พระประธาน จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญและงามเป็นพิเศษแตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปอื่นๆ เป็นพระเก่าโบราณที่หาชมได้ยาก


ออกเดินทางไปที่ วัดนาคกลางวรวิหาร วัดนาคกลางเดิมเป็นวัดโบราณ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ความเป็นมาตอนหนึ่งว่า เดิมมี 3 วัด ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีพระพุทธรูปสำคัญที่รู้จักกันดีอย่าง หลวงพ่อโคนสมอมหาลาภ เป็นพระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือปางถือสมอ นั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวรวิชัย ห่มจีวรคล้ายทางจีนและทิเบต พระเกศเป็นแบบบัวตูม พระหัตถ์ซ้ายทรงผลสมอ สันนิษฐานว่าลอยน้ำมาจากทิศเหนือ ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดนาคกลางวรวิหาร หลายร้อยปีแล้ว


นอกจากนั้นยังมี “ศาลาสุธรรมภาวนา” ศาลาที่ประทับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐานพระพุทธนิมิตฯ (หลวงพ่อทอง) และพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพระอิริยาบถต่างๆ จำนวน 9 พระองค์ครึ่ง พร้อมทั้งทหารเสือคู่พระทัย ไว้ให้กราบสักการะอีกด้วย


ต่อจากนั้นเราก็เดินทางสู่ "วัดระฆังโฆษิตาราม" ชมหอไตรที่มีความงดงาม หรือในอีกชื่อเรียกว่า “ตำหนักจันทน์” เดิมเคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงรับราชการเป็นที่พระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกฝ่ายขวา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรื้อไปถวายวัดบางหว้าใหญ่ ในคราวเสด็จเป็นแม่ทัพไปตีเมืองโคราช เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เพื่อใช้เป็นหอพระไตรปิฎก โดยขุดพื้นที่บริเวณที่พบระฆังออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก่ออิฐกั้นเป็นสระแล้วรื้อพระตำหนักจากที่เดิมมาปลูกลงในสระ เมื่อดำเนินการเสด็จโปรดให้มีการสมโภชและปลูกต้นจันทน์ไว้ 8 ต้น อันเป็นเหตุให้เรียกหอไตรนี้ว่า “ตำหนักจันทน์”

ต่อไปเราจะมุ่งหน้าไปที่โรงพยาบาลศิริราช โดยเดินผ่านสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตอย่าง "วังหลัง" ซึ่งมี กำแพงวังหลัง ที่เหลือเพียงช่วงเดียวในพื้นที่ได้โชว์ไว้ให้ดูอีกด้วย เมื่อถึงโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ฉันเดินไปที่ "พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน" ที่นี่เมื่อก่อนนั้นเคยเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อยมาก่อน รวมทั้งเป็นที่จัดแสดงเรื่องราวประวัติของวังหลัง หรือ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข, เรื่องราวสงครามมหาเอเชียบูรพา, นิทรรศการกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช และภูมิปัญญาบางกอกน้อย เอาไว้เป็นที่ระลึกถึง ถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีมากแห่งหนึ่งในประเทศ

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

ตั๊กออแกไนท์บางกอกใหญ่ รับงานแสดงละครรำ รำถวายแก้บนตามงานพิธีมงคลต่างๆ 
รับงานแสดงไทย โขน ละคร ฟ้อน รำ ทุกประเภท งบประมาณตามตกลงและพอใจ
รับงานแสดงไทย รำอวยพร รำแก้บน รำหน้าไฟ ผลงานของเรา
รำบวงสรวงพญานาคบางกอกใหญ่
นางรำบางกอกใหญ่เพลงรําถวายพ่อปู่ศรีสุทโธ
พิธีรำบวงสรวงพญานาคบางกอกใหญ่
บางกอกใหญ่รําบวงสรวงพญานาคประวัติ
ชุดรําบวงสรวงพญานาคบางกอกใหญ่
รําบวงสรวงพญานาคบางกอกใหญ่
ฟ้อนบูชาพญานาคบางกอกใหญ่
รําบวงสรวงพญานาคบางกอกใหญ่
 

  ติดต่อสอบถามเรา        
            

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2021, 10:51:01 PM โดย admin »